2 โรคพบบ่อย ผู้ป่วยใช้ “ยาปฏิชีวนะ” แบบผิดๆ !

27 มิ.ย. 24

ยาปฏิชีวนะ

 

ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) เรียกกันทั่วไปว่ายาฆ่าเชื้อ หรือยาต้านแบคทีเรีย เป็นยารักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง แผลเป็นฝีหนองที่ผิวหนัง หรือปอดอักเสบจากแบคทีเรีย

ผู้ป่วยทั่วไปมักมีความเข้าใจผิด คิดว่า “ยาปฏิชีวนะ” คือ “ยาแก้อักเสบ” และยังมีความเข้าใจผิดว่าการใช้ยานี้จะทำให้โรคที่เป็นอยู่หายเร็วขึ้น และเมื่อกินเข้าไป นอกจากโรคจะไม่หาย ยังทำให้เกิดอาการดื้อยา และเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากขึ้นอีกด้วย

จากการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุขประเทศอังกฤษ พบว่าทุก ๆ ชั่วโมงคนไทยเสียชีวิตจากการดื้อยาปฏิชีวนะเฉลี่ย 2 คน โดยในปี 2010 มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในประเทศไทยมากถึง 19,122 คน โดยมีสาเหตุหนึ่งมาจากคนไทยสามารถซื้อยาได้ง่ายตามร้านขายยา โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์

2 โรคพบบ่อย ผู้ป่วยใช้ยาปฏิชีวนะแบบผิด ๆ

1. โรคไข้หวัด ไอ เจ็บคอ ที่เกิดจากไวรัส ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ เพราะหวัดประเภทนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย
2. ท้องเสีย และอาหารเป็นพิษ ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ เพราะ ท้องเสียส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

ยาปฏิชีวนะทุกชนิดมีผลข้างเคียงเสมอ มากหรือน้อยขึ้นกับชนิด ขนาด และวิธีกินยา และยังขึ้นกับความไวของแต่ละคนต่อยาด้วย ผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะที่พบบ่อย เช่น ท้องเสีย ผื่นคัน ลมพิษ และ โรคหืด เป็นต้น

อ้างอิง : 1. โรงพยาบาลสมิติเวช 2. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save